สุขภาวะทางเพศจึงแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปัจเจก
บุคคลและระดับ
สังคม
- สุขภาวะทางเพศระดับบุคคล
- หมายถึง การที่บุคคลสามารถแสดงออกทางเพศและตัดสินใจด้วยตนเองโดยอิสระและไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความเคารพต่อวิถีทางเพศที่แตกต่างจากตน มีสัมพันธภาพทางเพศที่ปลอดภัยและมีความพึงพอใจ โดยปราศจากการบังคับ การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรง โดยมีความคิดเชิงบวกต่อเรื่องเพศและสัมพันธภาพทางเพศ
- สุขภาวะทางเพศระดับสังคม
- หมายถึง การที่สังคมมีองค์ประกอบที่สร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของคนในสังคมนั้น ประกอบด้วย การมีรัฐบาลที่ตระหนักว่าสุขภาวะทางเพศเป็นสิทธิพื้นฐานของบุคคล และแสดงความรับผิดชอบที่จะสนับสนุนสุขภาวะทางเพศ โดยกำหนดนโยบาย และกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิทางเพศของพลเมืองอย่างชัดเจน การให้การศึกษาเรื่องเพศที่เหมาะสมกับวัยและเพศตลอดช่วงอายุ การมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอต่อการให้บริการทางสังคมและสุขภาพ การศึกษาวิจัยและระบบเฝ้าระวังที่รอบด้าน และเพียงพอให้เกิดการป้องกันปัญหาสุขภาพอย่างเหมาะสม และเป็นสังคมที่เปิดกว้าง และให้ความสำคัญแก่สุขภาวะทางเพศของสมาชิกในสังคม
การสร้างฮอร์โมนเพศชาย[แก้]
ลักษณะของฮอร์โมนเพศชาย[แก้]
ฮอร์โมนเพศชายสามารถอยู่อย่างอิสระ (Free) หรืออยู่รวมกัน (Bound) กับโปรตีนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่จับอยู่กับโปรตีนในร่างกายไม่สามารถนำมาใช้ได้ ฮอร์โมนที่ไม่ได้จับกับโปรตีนในร่างกายเรียกว่าฮอร์โมนอิสระหรือ Bioavailable testosterone
ระดับโฮโมนเพศชาย[แก้]
ระดับปกติของฮอร์โมนเพศชายอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl จากระดับปกติดังกล่าว ร้อยละ 97-98 จะอยู่ในรูปของฮอร์โมนที่ไม่อิสระ จำนวนของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ SHBG จะจับกับ testosterone ทำให้มันไม่สามารถไปออกฤทธิ์ส่งต่อร่างกายได้ อย่างที่กล่าวแล้วว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยในเรื่องความคงทนของกล้ามเนื้อและ รักษาสภาพหรือเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ อารมณ์ทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้น เพิ่มพลังงานของจิตใจและร่างกาย และยังสนับสนุนการพัฒนาทางอารมณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตอีกด้วย
ผลการเปลี่ยนแปลงของโฮโมนเพศชาย[แก้]
ฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งมีผลกระทบมากมายต่อกิจกรรมในการผลิตพลังงานของร่างกาย เช่น การผลิตเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก การจัดรูปร่างของกระดูก การเผาผลาญของไขมันและแป้ง และการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนเพศชาย[แก้]
- การสูญเสียสถานะสังเคราะห์โฮโมน จีเอ็น อาร์ เอช
- การผลิต ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงจากอายุ
- การเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายออกหาเวลากลางคืนผิดปกติ
- ได้รับสารต้านทานการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย
- มีการใช้แร่ธาตุสังกะสีในการบำรุงร่างกายบกพร่อง ทำให้ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำ
โรคอื่นๆ[แก้]
ฮอร์โมนเพศหญิงเกิดขึ้นในร่างกายของผู้ชายได้อย่างไร ในร่างกายมีเอ็นไซม์ที่ชื่อว่า Aromatase ซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายจำนวนหนึ่งไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายของผู้ชายจะสร้างจำนวน Aromatase มากขึ้น จำนวน Aromatase ที่มากขึ้นนี้หมายถึงการแปรสภาพฮอร์โมนเพศชายไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมากขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง ผู้ชายอาจมีระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติแต่การที่เพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะมีผลกระทบสัมพัทธ์ต่อระดับฮอร์โมนเพศชายที่ปกติ
- โรคอ้วน
- การศึกษาชี้ว่าโรคอ้วนมีผลโดยตรงกับฮอร์โมนเพศหญิงที่มากเกินไปในทั้งสองเพศ ทุกอนุภาคของไขมันจะมี Aromatase เป็นส่วนประกอบ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของจำนวนอนุภาคของไขมันจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มการแปล สภาพของฮอร์โมนเพศชายไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิง การเปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง โรคอ้วนนี้เป็นที่รู้กันว่าทำให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำในทุกวัย
- การดื่มสุรา
- จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การดื่มสุราจะทำให้การทำงานของตับแย่ลง การดื่มสุราก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายเพิ่ม ขึ้น ในสุภาพสตรีจะมีการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเด่นชัดหลังจากดื่ม สุราเพียงแค่แก้วเดียว ส่วนในผู้ชายแม้การเพิ่มขึ้นเห็นไม่เด่นชัดแต่ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงมีการ เพิ่มสูงขึ้น พวกที่ดื่มสุราหนักจะมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงที่สูงกับอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น มีเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังเป็นหย่อมๆ คล้ายใยแมงมุม (Spider veins) โดยเฉพาะบริเวณจมูกและแก้ม, มีเต้านมใหญ่ขึ้นจนอาจเหมือนเต้านมผู้หญิง (gynecomastia) และการหดขนาดลงของอัณฑะ การดื่มสุราจะลดระดับของธาตุสังกะสีในร่างกายเช่นกัน
- การขาดแคลนธาตุสังกะสี (Zinc)
- ธาตุสังกะสีเป็นตัวหยุดยั้งระดับของ Aromatase ในร่างกาย ถ้าระดับของธาตุสังกะสีมีไม่เพียงพอ ระดับของ Aromatase ก็จะสูงขึ้น ธาตุสังกะสีนี้ยังจำเป็นสำหรับระบบการทำงานปกติของต่อมใต้สมอง ถ้าไม่มีธาตุสังกะสีต่อมใต้สมองก็จะไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนฮอร์โมนเหนี่ยวนำ การตกไข่ และ ฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกซึ่งเป็นตัวกระตุ้นอัณฑะให้ผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ สิ่งที่น่าสนใจคือธาตุสังกะสีมีความสำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศชาย ในขณะเดียวกันฮอร์โมนเพศชายดังกล่าวก็มีความจำเป็นสำหรับการรักษาระดับของ ธาตุสังกะสีในเนื้อเยื่อของร่างกายเช่นกัน
- ยาต่างๆ
- ผลข้างเคียงของยาจะมีผลกระทบด้านลบต่อร่างกายและอาจมีผลกระทบต่อชายวัยทอง ตัวอย่างเช่นการปัสสาวะบ่อย (ยาขับปัสสาวะ ) เป็นยาที่ใช้รักษา ความดันโลหิตสูง และผลของการปัสสาวะบ่อยจะทำให้ระดับของธาตุสังกะสีในร่างกายลดลง
- ระบบการทำงานของตับ
- หนึ่งในระบบการทำงานของตับคือช่วยขับสารเคมี, ฮอร์โมน, ยา และของเสียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกายออกจากร่างกาย มีปัจจัยต่างๆ ที่จะกระทบกับการทำงานของตับ เช่น การดื่มสุราจะลดการทำงานของตับ อายุที่มากขึ้นตามปกติจะทำให้การทำงานของตับลดลงด้วยเช่นกัน
อาการขาดหรือลดลงของโฮโมนเพศชาย[แก้]
อาการจากการขาด Androgen[แก้]
- มีผลกระทบต่อระบบความจำ (cognitive function) คือการขาดพลังงานทางด้านจิตใจ ลดความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และมีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้า
- มีผลกระทบต่อการสูญเสียการเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ ความหนาและความแข็งแรงของกระดูก การสูญเสียเหล่านี้สามารถเกิดกับชายวัยทองทำให้รู้สึกว่าเหนื่อยง่าย
- มีผลกระทบต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่าย ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการก้าวร้าว ความไม่เป็นมิตร และความโมโห
- เหงื่อออกและหน้าแดง ในผู้ชายสามารถเกิดได้เช่นเดียวกับผู้หญิง
- มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเพศและการสูญเสียอารมณ์ทางเพศจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย
- การลดลงของสมรรถภาพทางเพศหรือ การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ การไม่มีประสิทธิภาพในการคงสภาพของการแข็งตัว การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ รวมถึงระยะเวลาของการแข็งตัว ผู้ชายส่วนใหญ่เมื่อถึงวัยกลางคนอาจจะสิ่งต่างๆเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงทางเพศจะเป็นสิ่งแรกที่มาก่อนหรือเป็นตัวเตือนให้ระวังว่าโรคที่จะตามมา
ผลกระทบระยะสั้น[แก้]
- ความแข็งแรงลดลง
- ความอดทนลดลง
- ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง
- อารมณ์ทางเพศลดลง
- สมรรถภาพทางเพศลดลง
- พักผ่อนน้อย
- เหนื่อยง่าย
- ความมั่นใจในตนเองลดลง
- ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
ผลกระทบระยะยาว[แก้]
- โรคกระดูกพรุน
- โรคอ้วน
- การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ
- การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปที่เกิดกับชายวัยทอง
- การลดลงของพลังงานด้านร่างกาย
- ไม่ค่อยมีสมาธิ
- ขี้หลงขี้ลืม
- นอนหลับได้น้อย
- มีการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตที่แย่ลง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น